Page 14 - คำรับรองการปฏิบัติราชการ สำนักงานเลขานุการกรม ปีงบประมาณ 2565
P. 14

คำรับรองการปฏิบัติราชการและคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับกรมและระดับหน่วยงาน

                                            ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                             ตัวชี้วัดหน่วยงาน                    ตัวชี้วัดต่อเนื่อง   ตัวชี้วัดใหม่   ตัวชี้วัดเดิม

                            สำนักงานเลขานุการกรม


                ตัวชี้วัดที่ 1.3 : จำนวนกระบวนงานการพัฒนาระบบสำนักงานสู่ระบบดิจิทัล             น้ำหนัก
                หน่วยวัด : จำนวน                                                               ร้อยละ 10

                 ประเภท :  Agenda based   Functional based   Area based   Joint KPI

                 มิติ :  ประสิทธิผลขององค์การ   คุณภาพการให้บริการ   ประสิทธิภาพ   การพัฒนาองค์การ

                 ความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ :

                    เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการของกรมฯ ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance
                 Excellence)
                    เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 3) จำนวนกระบวนงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัล (Smart Office)
                    เชื่อมโยงกับแผนงาน/โครงการ พัฒนาระบบบริหารสู่องค์กรคุณภาพและองค์กรคุณธรรม


                คำอธิบาย :
                        สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) หมายถึง การใช้กระบวนการหรือวิธีการบริหารงานรูปแบบใหม่
                โดยการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และระบบเครือข่ายมาใช้ในสำนักงาน ทำให้เกิด

                ความสะดวกรวดเร็ว การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ ปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายในการ
                พัฒนาระบบปฏิบัติงานสู่ระบบดิจิทัลของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 3 ระบบ ที่นำมา
                เป็นขอบเขตของการประเมิน ประกอบด้วย 1) ระบบการเงิน การคลัง 2) ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และ 3) ระบบ
                จัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอื่น ๆ


                สถานการณ์ :
                        การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อบริบทของโลกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป
                จากในอดีต เทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ ระบบประมวลผลที่ฉลาดขึ้นและมีความเป็นอัตโนมัติปริมาณข้อมูล

                ในฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และสามารถนำไปวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
                อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถพกพาและเคลื่อนที่ไปทุกหนแห่ง ได้เข้ามา
                มีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกมิติ ไม่เว้นแม้แต่มิติการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐสามารถ

                นำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับใช้กับการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการภาครัฐ การกำหนดนโยบาย
                ต่างๆ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหา อุปสรรค หรือความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้รูปแบบการทำงาน
                การให้บริการ และการดำเนินการต่าง ๆ ของภาครัฐ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือมีความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
                มากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน แนวโน้มเทคโนโลยี ที่สำคัญต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ประกอบกับ

                รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาระบบงานเข้าสู่การบริหารงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้
                นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของรัฐบาลไทย
                        ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดำเนินการพัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ระบบ ดังนี้
                1) ระบบแจ้งเวียนหนังสือราชการรายบุคคล 2) ระบบแจ้งเตือนลูกหนี้เงินยืม 3) ระบบจองรถราชการ

                และ 4) ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์




                                                       ห น้ า   |   12
                                    กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19