Page 11 - คำรับรองการปฏิบัติราชการ สำนักงานเลขานุการกรม ปีงบประมาณ 2565
P. 11

คำรับรองการปฏิบัติราชการและคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับกรมและระดับหน่วยงาน

                                            ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                             ตัวชี้วัดหน่วยงาน                    ตัวชี้วัดต่อเนื่อง   ตัวชี้วัดใหม่   ตัวชี้วัดเดิม

                            สำนักงานเลขานุการกรม


                ตัวชี้วัดที่ 1.2 : ร้อยละของบุคลากรกรมได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีสมรรถนะสูง      น้ำหนัก
                ภายใต้โครงการของกรมหรือหลักสูตรภายนอก ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง                   ร้อยละ 10
                หน่วยวัด : ร้อยละ


                 ประเภท :  Agenda based   Functional based   Area based   Joint KPI
                 มิติ :  ประสิทธิผลขององค์การ   คุณภาพการให้บริการ   ประสิทธิภาพ   การพัฒนาองค์การ

                 ความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ :
                    เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการของกรมฯ ยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
                    เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 2) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                 ในสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

                    เชื่อมโยงกับแผนงาน/โครงการ ยกระดับระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพต่อการบรรลุเป้าหมายตาม
                ยุทธศาสตร์

                คำอธิบาย :

                        บุคลากรกรม หมายถึง ข้าราชการ พนักงานราชการ ของหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์แผนไทยและ
                การแพทย์ทางเลือก ยกเว้นผู้อำนวยการของหน่วยงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564)
                        การพัฒนาศักยภาพบุคลากร หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะ สมรรถนะ และ
                ทัศนคติ โดยมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านการฝึกอบรม (ทั้ง Onsite และ Online) การสอน

                งาน (Coaching) การเรียนรู้ด้วยตนเอง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) อันจะ
                ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในตนเองและองค์กร
                หมายเหตุ :

                        1) การอบรมแต่ละหลักสูตรจะต้องมีใบรับรอง หรือหนังสือรับรองการผ่านการอบรม หรือแบบรายงาน
                ผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรรายบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ที่มีผู้สอนงานลงนามกำกับ
                        2) บุคลากรในหน่วยงานได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีสมรรถนะสูง ภายใต้โครงการอบรมของกรมหรือ
                หลักสูตรภายนอก ภายในไตรมาสที่ 3 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง


                สถานการณ์ :
                        จากสภาวการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันพบว่า ความผันผวนจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก
                (Global Megatrends) ร่วมกับผลกระทบและปัจจัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นำมาซึ่ง

                โอกาสและความเสี่ยงหลากหลายประการ การสร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสและลดทอนความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
                จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถของทุกภาคส่วนใน
                หลากหลายมิติ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่ต้องการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้ตาม
                ระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการ

                ของตลาดแรงงานและโลกยุคใหม่ อาทิ การมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนา
                แห่งอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่อย่างรอบด้าน ปรับปรุง
                ระบบและกระบวนงานการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน


                                                        ห น้ า   |   9
                                    กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16